เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 3. อวิชชาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ให้ถึงความดับแห่งรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดวิญญาณ รู้ชัด
ความเกิดแห่งวิญญาณ รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งวิญญาณ
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”

ตติยโกฏฐิตสูตรที่ 10 จบ
อวิชชาวรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สมุทยธัมมสูตร 2. ทุติยสมุทยธัมมสูตร
3. ตติยสมุทยธัมมสูตร 4. อัสสาทสูตร
5. ทุติยอัสสาทสูตร 6. สมุทยสูตร
7. ทุติยสมุทยสูตร 8. โกฏฐิตสูตร
9. ทุติยโกฏฐิตสูตร 10. ตติยโกฏฐิตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 4. กุกกุฬวรรค 2. อนิจจสูตร

4. กุกกุฬวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน
1. กุกกุฬสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน

[136] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของร้อน เวทนาเป็นของร้อน
สัญญาเป็นของร้อน สังขารเป็นของร้อน วิญญาณเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”

กุกกุฬสูตรที่ 1 จบ

2. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[137] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าไม่เที่ยง
คือ รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้น
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :231 }